หน้าแรกHeadlineกล่องเสียงบอบช้ำเมื่อหายจาก COVID-19

กล่องเสียงบอบช้ำเมื่อหายจาก COVID-19

Published on

ผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่อาการรุนแรงและจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจขณะทำการรักษาเป็นเวลานาน เมื่อหายแล้วอาจส่งผลให้กล่องเสียงได้รับการบาดเจ็บ เกิดการบวม อักเสบ หรือมีแผลได้ เพื่อรักษากล่องเสียงที่บอบช้ำจากการรักษาจึงควรหมั่นสังเกตตนเอง เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้วควรรีบพบแพทย์ทันที

แพทย์หญิงจิราวดี จัตุทะศรื แพทย์ด้านหู คอ จมูก ศูนย์หูคอจมูก โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ในผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่มีการอักเสบของปอดอย่างรุนแรง จนส่งผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว หายใจได้ยากจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) เพื่อช่วยในการรักษาโดยวิธีการใส่ท่อช่วยหายใจ (Endotracheal Intubation) ทางปากผ่านกล่องเสียงไปยังหลอดลม ท่อนี้จะเป็นตัวนำออกซิเจนจากเครื่องช่วยหายใจส่งไปยังปอด ช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งใช้เวลาในการรักษาที่ค่อนข้างนาน ตัวท่ออาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อภายในกล่องเสียงจนเกิดการบวม ช้ำ อักเสบ มีแผล แผลเป็น หรือบวมจนกลายเป็นเนื้องอกได้ ส่งผลให้เกิดภาวะกล่องเสียงทำงานผิดปกติไปจากเดิม

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการใส่ท่อช่วยหายใจ คือ 1.ภาวะกล่องเสียงหดเกร็ง (Laryngospasm) จะเกิดขึ้นเมื่อถอดท่อช่วยหายใจออกแล้ว เป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นในทางเดินหายใจขณะที่กล้ามเนื้อของกล่องเสียงยังหย่อนตัวไม่เต็มที่จึงเกิดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อกล่องเสียงและสายเสียง เช่น ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถผ่านเข้าปอดได้ 2.ภาวะกล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)

นอกจากการใส่ท่อช่วยหายใจแล้วยังสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา วัณโรค การใช้งานกล่องเสียงมากเกินไป อาทิ พูดดัง พูดนาน ร้องเพลงผิดวิธี ไอแรง ไอเรื้อรัง ขากเสมหะบ่อย ๆ ,มีสิ่งระคายเคืองกล่องเสียง เช่น การหายใจเอามลภาวะในอากาศเข้าไป การสูบบุหรี่ การสำลักอาหาร อาเจียน กรดไหลย้อน ,การกระแทกเสียดสีจากภายนอกกล่องเสียง เช่น อุบัติเหตุของแข็งกระแทกลำคอทางด้านหน้า ,การกระแทกจากภายในกล่องเสียง ที่เกิดจากการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อดมยาสลบ หรือเพื่อให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยหนักที่ไม่สามารถหายใจได้เองตามปกติ

ถ้ากล่องเสียงเกิดการอักเสบแล้ว การรักษามีดังต่อไปนี้ (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นในกล่องเสียง) การให้ยาโดยแพทย์จะพิจารณาจากสาเหตุที่เกิดเป็นหลัก อาทิ ยาแก้อักเสบ ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ไอ ยากรดไหลย้อน เป็นต้น ซึ่งต้องพักการพักใช้เสียงอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ต้องพูดน้อย ๆ ไม่ตะเบ็งเสียง ไม่ตะโกน ไม่ร้องเพลง ควรงดดื่มคาเฟอีนในปริมาณมาก งดดื่มแอลกอฮอล์

แพทย์หญิงจิราวดี จัตุทะศรื

กรณีที่มีเนื้องอกหรือแผลเป็นในกล่องเสียง แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัด ด้วยการสอดท่อผ่านเข้าไปทางช่องปาก ร่วมกับผ่าตัดด้วยอุปกรณ์สำหรับกล่องเสียงโดยเฉพาะ ภายใต้การมองผ่านเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) เพื่อป้องกันการบอบช้ำหรือกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้ป่วยจะไม่มีบาดแผลบริเวณผิวหนังลำคอ แต่หลังผ่าตัดควรพักการใช้เสียงด้วยการพูดน้อย ๆ ต่อเนื่อง 2 สัปดาห์หรือจนกว่าแผลจะหายเป็นปกติ

สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่รักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจและท่อช่วยหายใจตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา เมื่อหายแล้วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ ควรที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ถ้ารู้สึกว่าเกิดอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

Latest articles

มหกรรมสินค้าไอทีกลางปี “COMMART UNLIMIT” ณ ไบเทคบางนา

มหกรรมสินค้าไอทีคอมมาร์ต รอบกลางปี 2568 มาในคอนเซ็ปต์ COMMART UNLIMIT โปรน็อนสต๊อป ช้อปไม่จำกัด จัดเต็มครบทุกแบรนด์สินค้าไอทีชั้นนำ

โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ แนะนำเมนูชวนลิ้มลอง “เค้กชาเขียววสันตฤดู”

เค้กช็อพ โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ คัดสรรเมนูเค้กเด่นประจำฤดูฝนหรือฤดูใบไม้ผลิให้ได้ลิ้มลองความอร่อยด้วย “เค้กชาเขียววสันตฤดู (Green Tea Rainy Season Cake)” โดย เชฟเต้ - จักรพรรดิ์ พจน์ชัยกุล

Workation Paradise ss.3 รุกตลาดฟรีแลนซ์ ปั้นไทยสู่ศูนย์กลาง Work & Travel

ททท. ผนึกกำลัง Fastwork รุกตลาดฟรีแลนซ์ยุคใหม่ เตรียมเปิดตัว “Workation Paradise Throughout Thailand Season 3” ปั้นไทยสู่ศูนย์กลาง Work & Travel

เต็ดตรา แพ้ค ขยายโรงงานใน Binh Duong รองรับตลาดประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ตลาดอาหารและเครื่องดื่มมีการแข่งขันดุเดือดมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีมูลค่าตลาดกว่า 667 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 และมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงถึง 900 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2571

More like this