หน้าแรกHeadline“สกาย” ชูระบบ Biometric อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวในสนามบิน Touchless Society

“สกาย” ชูระบบ Biometric อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวในสนามบิน Touchless Society

Published on

“สกาย” เป็นผู้ให้บริการระบบ Biometric ภายในสนามบิน ด้วย One-ID เพียงใช้ใบหน้าของนักท่องเที่ยวก็สามารถเดินทางผ่านทุกจุดเช็คอินได้อย่างสะดวกสบาย ที่ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของท่าอากาศยานไทย (AOT) โดยเริ่มให้บริการกับผู้โดยสารภายในประเทศในวันที่ 1 พ.ย.นี้ และจะพร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศตั้งแต่ 1 ธ.ค. เป็นต้นไป นับเป็นอีกพันธกิจที่ช่วยผลักดันสนามบินไทยสู่สนามบินชั้นนำระดับ World Class และตอบโจทย์การเข้าสู่ Touchless Society

นายสิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ สกาย กรุ๊ป (SKY Group) กล่าวว่า บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมการบินชั้นนำของประเทศไทย ล่าสุดนำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล (Automated Biometric Identification System: Biometric) หรือ ระบบข้อมูลชีวมาตร คือ การพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลโดยใช้การสแกนใบหน้าเพื่อเข้าสู่ระบบสนามบิน ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้โดยสารในสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

เทคโนโลยี Biometrics นี้จะเริ่มให้บริการกับผู้โดยสารภายในประเทศก่อนในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 และพร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 ภายในท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่

ปัจจุบันสนามบินชั้นนำในหลายประเทศทั่วโลกได้เริ่มนำเอาระบบ Biometric นี้ มาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร เช่น สนามบินชางงี ประเทศสิงคโปร์ สนามบินดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สนามบินฮาร์ทสฟิลด์-แจ็คสัน เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา สนามบินซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และสนามบินฮาเนดะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศไทยนับว่าอยู่ในกลุ่มประเทศแรกๆ ของโลกที่นำระบบนี้มาใช้ภายในสนามบินเช่นกัน

นายสิทธิเดช มัยลาภ

นายสิทธิเดช กล่าวต่อว่า การนำ Biometric มาใช้ในสนามบินสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภายในสนามบิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดขั้นตอนต่าง ๆ เพิ่มความรวดเร็ว เนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องถือพาสปอร์ตและ Boarding Pass เพื่อยืนยันตัวตนแก่เจ้าหน้าที่อีกต่อไป แต่ด้วยระบบ Biometric ที่พัฒนาขึ้นมานี้ นักท่องเที่ยวสามารถใช้ใบหน้าของตัวเองเป็นทางผ่านได้เลย

นอกจากความรวดเร็วแล้วยังส่งผลโดยตรงมาในส่วนความสะอาด (Hygienic) เพราะจะช่วยลดการสัมผัสภายในสนามบิน เนื่องจากอย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าสนามบินเป็นแหล่งรวมของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเป้าหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าออกประเทศไทยถึง 100 ล้านคน และคาดว่าในปีนี้จะมีนักเดินทางเข้าออกประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการมีระบบนี้เข้ามา มั่นใจว่าจะช่วยเจ้าหน้าที่ให้บริการได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และอำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาให้แก่นักท่องเที่ยวได้มากขึ้นด้วย

ขั้นตอนการทำงานของ ระบบ Biometric เพื่อใช้ใบหน้าเป็น One-ID เริ่มจากผู้โดยสารแสดงบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต พร้อมกับสแกนหน้าเพื่อยืนยันตัวตนที่ระบบออกตั๋วโดยสารที่เคาน์เตอร์ (CUTE: Common Use Terminal Equipment) หรือระบบออกตั๋วโดยสารด้วยตัวเอง (CUSS: Common Use Self-check in System) หลังจากยืนยันตัวตนเสร็จแล้ว ระบบจะสร้าง Travel Token ของผู้โดยสารแต่ละคนขึ้นมา ช่วยให้ผู้โดยสารสามารถสแกนใบหน้าผ่านเข้าไปยังพื้นที่ภายในสนามบินจนกระทั่งผ่าน Boarding Gate ได้อย่างสะดวก ไม่ต้องแสดงเอกสารต่างๆ อีก

Biometric Flow

ที่ผ่านมาสกายฯ ในฐานะผู้พัฒนาระบบด้านเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเดินทางภาคพื้นดิน ได้พัฒนาระบบบริการผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่องหรือ CUPPS (Common Use Passenger Processing System) มาใช้ใน สนามบินภายในประเทศไทย โดยระบบ CUPPS ที่ปัจจุบันดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยประกอบไปด้วย CUTE (Common Use Terminal Equipment) ระบบออกตั๋วโดยสารที่เคาน์เตอร์, CUSS (Common Use Self-check in System) ระบบออกตั๋วโดยสารด้วยตัวเอง, CUBD (Common Use Bag Drop) ระบบโหลดกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติด้วยตัวเอง, PVS (Passenger Validation System) ระบบการคัดกรองผู้โดยสาร, SBG (Self-Boarding Gate) ระบบประตูทางออกขึ้นเครื่องอัตโนมัติ

6 เทคโนโลยีที่สกายพัฒนาเพื่อให้บริการภายในสนามบิน

และล่าสุด คือ ระบบ Biometric หรือ One-ID ซึ่งทั้ง 6 ระบบ ที่ถูกพัฒนาขึ้น เรามั่นใจว่าจะสามารถทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ Touchless Society ตั้งแต่ก้าวแรกที่นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประเทศไทย ซึ่งเป็นประตูด่านหน้าก่อนเดินทางเข้าประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวได้รู้สึกถึงความสะดวกสบายในการเดินทางมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ตรงเป้าหมายที่สกายช่วยในการพัฒนาประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก New Normal สู่ Now Normal เพื่อให้ผู้เดินทางได้เดินทางอย่างปลอดภัย และสะดวกสบาย (Save, Secure and Convenience)

สำหรับบริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำในประเทศไทยที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน การรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยบริษัทมุ่งเดินหน้าให้บริการโซลูชันใหม่ๆ ให้สอดรับกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบิน พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งมอบประสบการณ์การเดินทางที่ดีที่สุดให้กับผู้โดยสารผ่านบริการต่างๆ อาทิ การรวมระบบ แอปพลิเคชัน ระบบรักษาความปลอดภัย และบริการอำนวยความสะดวกภายในท่าอากาศยาน

Latest articles

ผลงานเก๋ไก๋ เดินไปยิ้มไป คราฟต์ไทยร่วมสมัย Crafts Bangkok 2025

ของบางอย่างแค่ได้ชมก็ชื่นใจ วันนี้จึงยากชวนไปเดินชมงานนี้ “Crafts Bangkok 2025” งานที่รวบรวมไอเดียเก๋ไก๋จากศิลปินไทย ในเส้นทางของศิลปหัตถกรรมไทยร่วมสมัย บอกได้เลยว่างานนี้ เดินไป ยิ้มไป อย่างแน่นอน

“พิชัย” เปิดงาน “Crafts Bangkok 2025” หนุน SACIT ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน

กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เดินหน้ายกระดับศิลปหัตถกรรมไทยสู่เวทีสากล เปิดตัวงาน “Crafts Bangkok 2025” อย่างยิ่งใหญ่ มุ่งผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับดีไซน์ร่วมสมัยและนวัตกรรม สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่...

ละมุนแบบหนุ่มเชียงราย ร้านอาหารเหนือรสเข้มข้นมีสไตล์ ที่ “ครัวเม็งราย”

อาหารเหนือก็มีศิลปะการทำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ นำมาซึ่งรสชาติ รสสัมผัส รวมทั้งกลิ่นหอมจากเครื่องสมุนไพรเฉพาะถิ่น หลายเมนูเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนทุกภาค

vivo จับมือ UNESCO – วารสารศาสตร์ มธ. ปั้น โครงการ vivo Academy Capture the Future

vivo ประกาศความร่วมมือ กับองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัวโครงการ “vivo Academy Capture the Future” กิจกรรมบูทแคมป์ถ่ายภาพเพื่อพัฒนาทักษะและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เหล่าเยาวชน

More like this