หน้าแรกRelease hubนิกกี้ รี้ด จับมือเดลล์ เปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นขุมทรัพย์

นิกกี้ รี้ด จับมือเดลล์ เปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นขุมทรัพย์

Published on

นิกกี้ รี้ด จับมือเดลล์ เปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นขุมทรัพย์ ด้วยคอลเลคชั่นเครื่องประดับจากทองรีไซเคิล ความร่วมมือของเดลล์กับธุรกิจของรี้ด “Bayou with Love” ถือเป็นอีกหนึ่งของความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการนำวัสดุรีไซเคิลกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง

เดลล์ และนิกกี้ รี้ด นักแสดง นักธุรกิจ และนักเคลื่อนไหว ประกาศความร่วมมือในการสนับสนุนความเคลื่อนไหวด้านการออกแบบเพื่อสร้างความยั่งยืน โดยมี The Circular Collection ที่รังสรรค์ขึ้นโดย Bayou with Love และ Dell เป็นคอลเลคชั่นเครื่องประดับ limited edition ที่ผลิตขึ้นในสหรัฐอเมริกา ที่เกิดมาจากทองที่นำมาจากโครงการรีไซเคิลของเดลล์ ทั้งนี้ คอลเลคชั่นดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วยแหวนทอง ต่างหู และกระดุมข้อมือซึ่งเป็นเครื่องประดับของผู้ชาย (cufflink) น้ำหนัก 14 และ 18 กะรัต ได้ถูกนำมาแสดงในปีนี้ภายในงานมหกรรมการแสดงเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ปี 2018 (#CES2018) ที่เพิ่งผ่านมา เพื่อเน้นย้ำถึงการที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใช้แล้วทิ้งส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสิ่งแวดล้อม และบทบาทที่เราทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)

“Bayou with Love ถูกสร้างขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้มากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับผลกระทบต่อมนุษย์ที่อยู่บนโลกใบนี้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าสิ่งของที่สวยงาม ก็สามารถสร้างขึ้นได้จากวัสดุรีไซเคิลที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน” นิกกี้ รี้ด ผู้ร่วมก่อตั้ง Bayou with Love กล่าว “ในการรีไซเคิลทองที่ครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็น “ของไม่มีประโยชน์” ทั้งเดลล์และฉันต่างทำงานเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เราสามารถนำทรัพยากรกลับมาใช้ได้เรื่อยๆ พร้อมกับความมุ่งมั่นที่จะทำให้ขยะหมดไป”

นอกจากนี้ เดลล์ได้ประกาศโครงการนำร่องครั้งแรกของอุตสาหกรรม ในการใช้ทองคำรีไซเคิลจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในแผงวงจรคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งจะมากับเครื่องรุ่น Latitude 5285 2-in-1 ที่ได้รับรางวัล โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลินี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ โครงการนำร่องดังกล่าวเกิดจากการตามรอยความสำเร็จในการศึกษาความเป็นไปได้ในเมนบอร์ดของเซิร์ฟเวอร์ กระบวนการผลิตทองในแบบปิด หรือ closed loop นั้นสามารถสนับสนุนการสร้างแผงวงจรคอมพิวเตอร์ใหม่นับล้านล้านชิ้นในปีหน้าได้ ซึ่งจะเป็นการขยายโครงการแบบ closed loop ของเดลล์จากการแปรพลาสติกไปสู่โลหะมีค่า

ปัจจุบันมี มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 12.5 เปอร์เซ็นต์ ที่ถูกนำกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ผลก็คือ มีการประเมินว่าในทุกๆ ปี คนอเมริกันโยนทองและเงินซึ่งคิดเป็นมูลค่าถึง 60 ล้านดอลลาร์ ทิ้ง จากแค่โทรศัพท์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ โครงการนำร่องใหม่ของเดลล์ และ The Circular Collection ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวัสดุที่มีค่าเหล่านี้ โดยการนำกลับมารีไซเคิลให้อยู่ในรูปของสินค้าที่งดงาม ให้คุณค่า และความยั่งยืน การนำทองกลับมาใช้ และการสร้างมูลค่าของทองที่ได้จากเทคโนโลยีที่ใช้แล้ว นอกจากจะสร้างประโยชน์อย่างมากในเชิงเศรษฐกิจแล้ว ยังสร้างประโยชน์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลด้วยการเลี่ยงผลเสียที่จะเกิดกับสุขภาพของมนุษย์ และเป็นการกรองสารที่ก่อให้เกิดมลพิษอันเกี่ยวเนื่องจากการทำเหมืองทองออกไปได้อีกด้วย จากผลการศึกษาของ Trucost กระบวนการสกัดแยกทองที่สร้างโดย Wistron GreenTech พันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมของเดลล์ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากถึง 99% เมื่อเทียบกับการทำเหมืองทองปกติ

“ที่เดลล์ เรามีความภูมิใจที่ได้คิดหาวิธีที่ช่วยให้ทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการดำเนินการผ่านซัพพลายเชนของเรา” เจฟฟ์ คลาร์ค รองประธานของเดลล์ กล่าว “นวัตกรรมด้านวัสดุ ก็คือวิธีการและสถานที่ที่เราจัดหาวัสดุต่างๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ของเรา อย่างพลาสติก คาร์บอน ไฟเบอร์ และตอนนี้คือทอง ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับเรา เมื่อคุณลองนึกถึงข้อเท็จจริงที่ว่าในแผงวงจรคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งตัน มีทองมากกว่าสินแร่จำนวนหนึ่งตันที่ได้จากผืนดินถึง 800 เท่า คุณจะเริ่มเข้าใจถึงโอกาสอันยิ่งใหญ่ ในการที่เราต้องนำวัสดุที่มีคุณค่ามาใช้ในการทำงาน โดยนิกกี้ รี้ด เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดีและเราเองก็เข้าใจดีเช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ต้องอาศัยความคิดนอกกรอบอย่างต่อเนื่องและสร้างสิ่งใหม่ขึ้นจากนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเรื่องกดดันมากที่สุดในโลก”

เดลล์ ใช้เวลากว่าทศวรรษ ในการทำงานเกี่ยวกับวัสดุที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2012 เดลล์ ได้นำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้ว (Post-consumer Recycled) มารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Legacy of Good Program ของเดลล์ ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้ปฏิญาณในการนำวัสดุที่รีไซเคิลได้ปริมาณ 100 ล้านปอนด์ มาใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายในปี 2020 ทั้งนี้ ความร่วมมือกับนิกกี้ รี้ด นับเป็นการต่อยอดความมุ่งมั่นของบริษัทในการหาวิธีการที่เป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าจากของเหลือใช้

เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นดังกล่าว หน่วยงานธุรกิจสามารถเข้าร่วมได้โดยผ่านบริการ Dell’s Asset Resale and Recycling Services การใช้กระบวนการสกัดวัสดุเพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดย Wistron GreenTech ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านสภาพแวดล้อมของเดลล์ จะนำอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วมาแยกออกส่วนประกอบออกเป็นชิ้นๆ โดยจะนำทองจากแผงวงจร (Motherboards) มารีไซเคิลเป็นแผงวงจรคอมพิวเตอร์ใหม่ ในฐานะที่เป็นซัพพลายเชนแบบครบวงจร (closed loop) ของเดลล์ หรือนำวัสดุมาสร้างมูลค่าเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์อื่นๆ

สินค้าในคอลเลคชั่น The Circular Collection by Bayou with Love มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 78 เหรียญสหรัฐ และจะพร้อมให้พรีออเดอร์ล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่ BaYouwithLove.com

Latest articles

ผลงานเก๋ไก๋ เดินไปยิ้มไป คราฟต์ไทยร่วมสมัย Crafts Bangkok 2025

ของบางอย่างแค่ได้ชมก็ชื่นใจ วันนี้จึงยากชวนไปเดินชมงานนี้ “Crafts Bangkok 2025” งานที่รวบรวมไอเดียเก๋ไก๋จากศิลปินไทย ในเส้นทางของศิลปหัตถกรรมไทยร่วมสมัย บอกได้เลยว่างานนี้ เดินไป ยิ้มไป อย่างแน่นอน

“พิชัย” เปิดงาน “Crafts Bangkok 2025” หนุน SACIT ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน

กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เดินหน้ายกระดับศิลปหัตถกรรมไทยสู่เวทีสากล เปิดตัวงาน “Crafts Bangkok 2025” อย่างยิ่งใหญ่ มุ่งผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับดีไซน์ร่วมสมัยและนวัตกรรม สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่...

ละมุนแบบหนุ่มเชียงราย ร้านอาหารเหนือรสเข้มข้นมีสไตล์ ที่ “ครัวเม็งราย”

อาหารเหนือก็มีศิลปะการทำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ นำมาซึ่งรสชาติ รสสัมผัส รวมทั้งกลิ่นหอมจากเครื่องสมุนไพรเฉพาะถิ่น หลายเมนูเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนทุกภาค

vivo จับมือ UNESCO – วารสารศาสตร์ มธ. ปั้น โครงการ vivo Academy Capture the Future

vivo ประกาศความร่วมมือ กับองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัวโครงการ “vivo Academy Capture the Future” กิจกรรมบูทแคมป์ถ่ายภาพเพื่อพัฒนาทักษะและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เหล่าเยาวชน

More like this