หน้าแรกRelease hub"โอทอปไลฟ์สไตล์” แหล่งช้อปแห่งใหม่ของนักเดินทาง

“โอทอปไลฟ์สไตล์” แหล่งช้อปแห่งใหม่ของนักเดินทาง

Published on

เมื่อพูดถึงศูนย์โอทอปหรือ ศูนย์แสดงสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จะนึกถึงห้องแถวหรืออาคารมีจั่วทรงไทยที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับความนิยมรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณก้อนโตให้แต่ละจังหวัดสร้างขึ้นเพื่อหวังเป็นแหล่งกระจายสินค้าชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันผลิตขึ้นมาวางขายให้เป็นที่รู้จักและสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ ผ่านไปไม่กี่ปีไม่รู้เหตุและผลใดศูนย์ฯดังกล่าวหลายแห่งถูกละเลยปล่อยทิ้ง ร้าง ไม่สามารถทำกำไรหรือชื่อเสียงให้ใครได้เลย

ปัจจุบันศูนย์โอทอปได้มีการพัฒนารูปแบบและสินค้าที่วางจำหน่ายให้ดูดีมีรสนิยมมากขึ้นโดยมีชื่อใหม่ว่า” โอทอปไลฟ์สไตล์” ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เกิดจากความร่วมมือของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยและภาคเอกชน โดยเมื่อเร็วๆนี้กรมการพัฒนาชุมชนได้พาสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูความสำเร็จการบริหารจัดการศูนย์โอทอปไลฟ์สไตล์ของโอทอปเทรดเดอร์ จังหวัดกาญจนบุรี
นายกิจจา กาญจนะวีระ ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเรื่องการพัฒนาสู่ “ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ขับเคลื่อนตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ผ่านกลไกประชารัฐ และการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อก้าวไปสู่โมเดลประเทศไทย 4.0 กรมการพัฒนาชุมขนในฐานะเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ โอทอป ดำเนินงานภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ส่งเสริมธุระกิจฐานรากให้ขยายตัวด้วย 3 กลยุทธ์ คือ การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุมชน ด้วยองค์การความรู้และนวัตกรรมเพื่อยกระดับสินค้าโอทอป สู่สากล จนก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ มากมาย อาทิโอทอป ขึ้นเครื่อง โอทอปแบรนด์เนม โอทอปเทรดเดอร์ และ โอทอปไลฟ์สไตล์ เป็นต้น

“ โอทอปไลฟ์สไตล์” เป็นการปรับเปลี่ยนศูนย์โอทอปแบบเก่าให้มีความทันสมัยขึ้นโดยนำแนวคิดมาจาก “ไลฟ์สไตล์คาเฟ่” ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันที่รวมเอาสินค้าหลายประเภทไว้รวมกันในร้านเดียว ทั้งแฟชั่น เครื่องแต่งกาย ของใช้ในชีวิตประจำวันเฟอร์นิเจอร์ อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จึงตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การชอปปิ้งของชาวญี่ปุ่นได้เป็นอย่างเมื่อไทยนำมาใช้ ภายใต้ชื่อ โอทอปไลฟ์สไตล์ จึงเป็นร้านขายสินค้า โอทอปรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้คนยุคปัจจุบัน ภายในอาจมีร้านขายกาแฟ ร้านขนม สินค้าที่ระลึกและผลิตภัณฑ์โอทอปอื่นๆอีกมากมาย รวมถึงมุมนั่งเล่น พร้อมมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตจให้บริการฟรี ซึ่งความหลากหลายแปลกใหม่จะให้ลูกค้าพอใจ”นายกิจจา กล่าว

นายกิจจา กล่าวอีกว่าสำหรับต้นแบบ โอทอปไลฟ์สไตล์ขณะนี้มีด้วยกันสองแห่ง คือ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรี เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงสินค้าโอทอปจากทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด ตั้งรับในเชิงรุก โดย ตั้งรับ หมายถึง ตั้งอยู่พื้นทีของตนเอง ส่วน รุก หมายถึง การรุกเข้าหาลูกค้า โดยจะเป็นการนำสินค้าโอทอปจากทั่วประเทศเข้าหาลูกค้าผ่านโอทอปเทรดเดอร์ภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นผู้กระจายสินค้าโอทอปไปยังศูนย์โอทอปไลฟ์สไตล์ โดยสินค้านั้นๆ จะต้องผ่านการรับรอง จากกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของสินค้าโอทอปทั่วประเทศ

ด้านนายสหัสนัย ยืนยงค์ ภาคเอกชน ในฐานะประธานเทรดเดอร์ โอทอป จ.กาญจบุรี กล่าวว่าสำหรับผู้ประกอบการถือว่ามีความพร้อมอยู่แล้วในการลงทุนแต่ยังขาดทิศทางเมื่อมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเป็นพี่เลี้ยงทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและมีช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอทอปได้อย่างยั่งยืน ตัวเองในฐานะเทรดเดอร์จังหวัดกาญจนบุรีและอยู่กับโอทอปมานานถึง 12 ปี รู้อยู่แล้วว่าการออกร้านในแต่ละครั้งมีค่าใข้จ่าย ขายได้ไม่คุ้ม บางรายขายของไม่ได้เกิดความท้อจึงได้มาคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้เครือข่ายสามารถขายสินค้าโอทอปได้อย่างยั่งยืน โดยคัดเฉพาะสินค้าระดับ 1-3 ดาว มาตกแต่งใหม่ ติดสลาก ติดบาร์โค้ดนำมาขายใน 4 ช่องทางคือ ขายในพื้นที่ ในอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และขายให้กับเพื่อนๆที่เป็นเทรดเดอร์ด้วยกัน

นายสหัสนัย กล่าวว่า จากการวิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มคนซื้อในอำเภอศรีสวัสดิ์พบว่าผู้ซื้อส่วนมากเป็นนักท่องเที่ยวหญิงและเด็กมากกว่าผู้ชาย เข้ามาในร้านเลือกๆซื้อแล้วก็ไป แต่ถ้ามีพื้นที่หรือมุมพักผ่อนสบายๆจะทำให้อยู่ในร้านได้นานขึ้นจึงเป็นที่มาของ “ศูนย์โอทอปไลฟ์สไตล์” เป็นการปรับเปลี่ยนศูนย์โอทอปเดิมให้มีความทันสมัยขึ้น ภายในศูนย์ฯ จัดร้านแบ่งเป็นมุมๆ ประกอบด้วย มุม กาแฟ เบอเกอรี่ อาหารปรุงสำเร็จรวดเร็ว มุมผักออร์แกรนิค ผักปลอดสาร พืชผักตามฤดูกาล สินค้าของผู้ประกอบการเครือข่ายโอทอปทั่วประเทศที่ผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาชุมชนแล้ว นอกจากนี้ยังมีมุมพักผ่อนสบายๆพร้อมสัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรีให้นักท่องเที่ยวได้นั่งเล่นอีกด้วย

นายสหัสนัย กล่าวอีกว่า สำหรับการทำงานในฐานะเทรดเดอร์จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากการพัฒนาเป็นศูนย์โอทอปไลฟ์สไตล์แล้วยังมีแนวคิดจัดตั้ง 1 แหล่งท่องเที่ยว 1ศูนย์โอทอป ให้แต่ละจังหวัดมีศูนย์ลักษณะนี้อย่างน้อยจังหวัดละ 5 ศูนย์โดยจะเปิดขายเฟรนด์ไซส์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ต้องการลงทุนแต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ได้เป็นเจ้าของกิจการ โดยทางทีมงานจะเข้าไปดูแลให้ทุกเรื่องทั้งรูปแบบการจัดศูนย์ การจัดส่งสินค้า รวมถึงการบริหารการขายต่างๆ นอกจากนี้จะช่วยทำตลาดในลักษณะขายตรงให้กับในกลุ่มโรงแรม สนามกอล์ฟ รีสอร์ท โรงพยาบาลซึ่งกลุ่มเหล่านี้มีความต้องการใช้สูงและจำนวนมากรวมถึงการเปิดร้านค้าออนไลน์ให้ผู้ประกอบการเครือข่ายสามารถขายสินค้าได้ตลอดเวลา ซึ่งได้ทำข้อตกลงกับไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศในการจัดส่งสินค้าราคาประหยัด นอกจากนี้ผู้ประกอบการเฟรนไซส์ก็สามารถเข้าออนไลน์ซื้อสินค้าในราคาทุนไปขายในศูนย์ได้

โอทอปไลฟ์สไตล์ทั้งสองแห่งของจังหวัดกาญจนบุรี ถือเป็นตัวอย่างของโมเดลที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนรูปลักษณ์โอทอปแบบเดิมๆเป็นร้านกาแฟผสานความหลากหลายของสินค้าโอทอปที่ดูทันสมัยเข้ากับยุคไทยแลนด์ 4.0

 

Latest articles

ผลงานเก๋ไก๋ เดินไปยิ้มไป คราฟต์ไทยร่วมสมัย Crafts Bangkok 2025

ของบางอย่างแค่ได้ชมก็ชื่นใจ วันนี้จึงยากชวนไปเดินชมงานนี้ “Crafts Bangkok 2025” งานที่รวบรวมไอเดียเก๋ไก๋จากศิลปินไทย ในเส้นทางของศิลปหัตถกรรมไทยร่วมสมัย บอกได้เลยว่างานนี้ เดินไป ยิ้มไป อย่างแน่นอน

“พิชัย” เปิดงาน “Crafts Bangkok 2025” หนุน SACIT ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน

กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เดินหน้ายกระดับศิลปหัตถกรรมไทยสู่เวทีสากล เปิดตัวงาน “Crafts Bangkok 2025” อย่างยิ่งใหญ่ มุ่งผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับดีไซน์ร่วมสมัยและนวัตกรรม สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่...

ละมุนแบบหนุ่มเชียงราย ร้านอาหารเหนือรสเข้มข้นมีสไตล์ ที่ “ครัวเม็งราย”

อาหารเหนือก็มีศิลปะการทำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ นำมาซึ่งรสชาติ รสสัมผัส รวมทั้งกลิ่นหอมจากเครื่องสมุนไพรเฉพาะถิ่น หลายเมนูเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนทุกภาค

vivo จับมือ UNESCO – วารสารศาสตร์ มธ. ปั้น โครงการ vivo Academy Capture the Future

vivo ประกาศความร่วมมือ กับองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัวโครงการ “vivo Academy Capture the Future” กิจกรรมบูทแคมป์ถ่ายภาพเพื่อพัฒนาทักษะและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เหล่าเยาวชน

More like this