หน้าแรกRelease hubพม.เยี่ยมเหยื่อไลฟ์สด ชวนหยุดความเชื่อ ความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องส่วนตัว

พม.เยี่ยมเหยื่อไลฟ์สด ชวนหยุดความเชื่อ ความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องส่วนตัว

Published on

จากกรณีที่สะเทือนความรู้สึกของคนไทยที่ติดตามข่าวในช่วงนี้ กับเหตุการณ์หญิงสาวที่ ถูกแฟนหนุ่มไลฟ์สดทำร้ายบาดเจ็บสาหัส โดยมีสังคมออนไลน์ร่วมกันร่วมกันหาทางช่วยเหลือแบบที่เรียกว่าลุ้นกันนาทีต่อนาที ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้าจะไปถึง จนสามารถนำตัวหญิงสาวออกมา สร้างความโล่งใจให้กับผู้ติดตามข่าวคราวแบบไม่ละสายตา พร้อมเสียงสะท้อนไปยังผู้ต้องหาที่ได้รับการจับกุมไปแล้วว่า ใยถึงโหดร้ายเพียงนี้ และมีคำถามถึงประเด็นของการทพเลาะกัน ซึ่งคนไทยมักเชื่อกันว่า “ผัวเมียทะเลาะกันเป็นเรื่องที่ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง” แต่หากเหตุการณ์นี้ ไม่ได้รับการช่วยเหลือได้ทัน ก็ไม่รู้ว่า ความรุนแรงและโหดร้ายจะไปถึงขั้นไหน

ในประเทศไทยมีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบดูแล คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิสตรี รวมถึงป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว คือ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งล่าสุด ก็ได้เข้าเยี่ยมเหยื่อสาวที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วย นายโสภณ แก้วล้อมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (ศปก.สค.) และนักสังคมสงเคราะห์ เดินทางไปเยี่ยมหญิงสาวผู้บาดเจ็บจากการถูกแฟนหนุ่มไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊คทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส และอยู่ระหว่างการพักรักษาตัว ณ โรงพยาบาลนพรัตน์ รามอินทรา กม.13 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ

นายเลิศปัญญา กล่าวว่า “การมาเยี่ยมหญิงสาวผู้ได้รับบาดเจ็บในวันนี้ เป็นความตั้งใจ และอยากให้กำลังใจผู้ได้รับบาดเจ็บ เพราะสิ่งที่ผู้หญิงประสบเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนจิตใจของคนในสังคม และไม่ยอมรับต่อการกระทำของผู้ชายคนที่ก่อเหตุทำร้ายร่างกายผู้หญิงจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเช่นนี้ และจากเหตุการณ์นี้ หากเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือผู้หญิงไม่ทัน ผู้หญิงอาจจะพบเจอกับความรุนแรงจนได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และในฐานะที่ผมทำหน้าที่ในการดูแล คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิสตรี รวมถึงป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอยู่ด้วย ผมเห็นถึงความทุกข์ ความเจ็บปวดที่มากกว่าบาดแผลบนร่างกาย เพราะการกระทำของผู้ชายที่ถูกเรียกว่าแฟนของหญิงสาวคนนี้ นอกจากจะทำร้ายทางร่างกายของผู้หญิงด้วยความรุนแรงจนได้รับบาดเจ็บสาหัสไม่สามารถปกป้องตัวเองได้แล้ว ถือว่ามีความผิดอาญาข้อหาพยายามฆ่า และผู้ชายที่ทำร้ายน้องยังเผยแพร่ภาพเปลือยกายของน้องและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นลักษณะการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊คอีกด้วย ถือเป็นการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของหญิงสาวซึ่งต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและอยู่ในภาวะที่ไม่อาจปกป้องตนเองได้ สะท้อนถึงการขาดจิตสำนึกในการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หญิง ทั้งด้านจิตใจ ชื่อเสียง ครอบครัว สังคม หน้าที่การงาน และความเป็นส่วนตัว จึงถือเป็นการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ”

นายเลิศปัญญา กล่าวต่ออีกว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ชายมีค่านิยมและเจตคติที่ไม่เหมาะสม เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงกับชาย แนวคิดที่ว่าแฟนหรือคู่รักเป็นสมบัติของผู้ชาย ผู้ชายมีอำนาจเหนือผู้หญิง รวมทั้งจากการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว ความเชื่อที่ว่าปัญหาความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว มักทำให้ผู้ประสบปัญหาพยายามปิดเป็นความลับ และทำให้คนในสังคมไม่ต้องการเข้าไปยุ่งเกี่ยวและให้ความช่วยเหลือ การที่ไม่ได้รับการแก้ไขผู้ที่กระทำความรุนแรงมักมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการกระทำความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งหากมีการใช้สารเสพติด เช่นกรณีนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้กระทำการโดยขาดความยับยั้งชั่งใจมากขึ้น

“ผมขอขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหญิงสาวที่ถูกทำร้าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสังคมมีการตื่นตัว ไม่ยอมรับ และไม่นิ่งเฉยต่อการกระทำความรุนแรง และขอให้ผู้หญิงหรือทุกคน เมื่อประสบกับปัญหาความรุนแรงให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ อย่าปล่อยให้คนรักหรือแฟนมีพฤติกรรมความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพราะพฤติกรรมเหล่านี้มีกระบวนการที่สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงได้ อย่าทนกับปัญหาโดยคิดว่าคนรักหรือแฟนจะเปลี่ยนพฤติกรรมเอง เมื่อประสบปัญหาหรือผู้ที่พบเห็นเด็กหรือสตรีถูกทำร้าย ขอให้รีบแจ้งได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม พม. โทรสายด่วน 1300 ซึ่งมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วบริการในภาวะวิกฤตตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ของ สค. รวมทั้งบ้านพักเด็กและครอบครัวอยู่ทุกจังหวัด สามารถช่วยเหลือได้ เช่น การให้ที่พักอาศัยชั่วคราว การให้คำปรึกษาแนะนำ เพราะมนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมสิทธิ เสรีภาพ และมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันต้องได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างครบถ้วนบริบูรณ์เช่นเดียวกัน” นายเลิศปัญญา กล่าวในตอนท้าย

สิ่งสำคัญเมื่อพบเห็นหรือได้ยินปัญหาความรุนแรง คือ การแจ้งเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ พึงระวังว่าการเข้าไปช่วยเหลือด้วยตัวเองอาจจะเป็นอันตรายได้ อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความไม่เพิกเฉย หรือเห็นว่าธุระไม่ใช่ คุณอาจจะเป็นอีกคนหนึ่งที่ช่วยเหลือชีวิตหรือลดทอนความบอบช้ำให้ใครอีกคนได้ เหมือนความร่วมมือและไม่นิ่งนอนใจของสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

Latest articles

ผลงานเก๋ไก๋ เดินไปยิ้มไป คราฟต์ไทยร่วมสมัย Crafts Bangkok 2025

ของบางอย่างแค่ได้ชมก็ชื่นใจ วันนี้จึงยากชวนไปเดินชมงานนี้ “Crafts Bangkok 2025” งานที่รวบรวมไอเดียเก๋ไก๋จากศิลปินไทย ในเส้นทางของศิลปหัตถกรรมไทยร่วมสมัย บอกได้เลยว่างานนี้ เดินไป ยิ้มไป อย่างแน่นอน

“พิชัย” เปิดงาน “Crafts Bangkok 2025” หนุน SACIT ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน

กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เดินหน้ายกระดับศิลปหัตถกรรมไทยสู่เวทีสากล เปิดตัวงาน “Crafts Bangkok 2025” อย่างยิ่งใหญ่ มุ่งผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางหัตถกรรมแห่งอาเซียน ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับดีไซน์ร่วมสมัยและนวัตกรรม สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่...

ละมุนแบบหนุ่มเชียงราย ร้านอาหารเหนือรสเข้มข้นมีสไตล์ ที่ “ครัวเม็งราย”

อาหารเหนือก็มีศิลปะการทำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ นำมาซึ่งรสชาติ รสสัมผัส รวมทั้งกลิ่นหอมจากเครื่องสมุนไพรเฉพาะถิ่น หลายเมนูเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนทุกภาค

vivo จับมือ UNESCO – วารสารศาสตร์ มธ. ปั้น โครงการ vivo Academy Capture the Future

vivo ประกาศความร่วมมือ กับองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัวโครงการ “vivo Academy Capture the Future” กิจกรรมบูทแคมป์ถ่ายภาพเพื่อพัฒนาทักษะและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เหล่าเยาวชน

More like this