พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จทอดพระเนตรแฟชั่นโชว์ FLYNOW III 

79

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จทอดพระเนตร แฟชั่นโชว์ FLYNOW III ประกอบนิทรรศการ Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi ความงามและ ความน่าเกลียด: สุนทรียศิลป์แห่งมารศี ณ ห้องนิทรรศการ 5-8 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนน เจ้าฟ้า กรุงเทพฯ  

โดยมี ศ.ดร.ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ประธานกรรมการมูลนิธิ หม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร,นายสมชัย  ส่งวัฒนา ผู้บริหาร บริษัท FLYNOW III จำกัด นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร, ตลอดจนคณะกรรมการมูลนิธิฯ และผู้บริหารหอศิลป เฝ้ารับเสด็จ

ศ.ดร.ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ กับคณะทำงาน

ศ.ดร.ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์  กล่าวว่า “นิทรรศการในครั้งนี้ประกอบด้วยกิจกรรมพิเศษ ซึ่งเป็นการ ร่วมมือครั้งแรกระหว่างมูลนิธิฯ กับ FLYNOW III ในการสร้างสรรค์ผลงานแฟชั่นโดยอาศัยแรงบันดาลใจ จากภาพเขียนของหม่อมเจ้ามารศีฯ มาผสานกับแนวคิดและการทำงานในรูปแบบของ FLYNOW III โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าถึงและใกล้ชิดกับงานศิลปะมากขึ้น โดยผลงานเสื้อผ้าในคอลเลคชั่น Marsi X FLYNOW III ที่นำมาจัดแสดงนี้ประกอบด้วยชุดแฟชั่นโชว์จำนวน 14 ชุด ภายใต้แนวคิดการเล่าเรื่องที่ สื่อถึง กระบวนการ ทำงานศิลปะของหม่อมเจ้ามารศีฯ คู่ขนานไปกับเบื้องหลังการทำงานแฟชั่นของ FLY NOW III เพื่อสะท้อนมุมมองของความงามและความน่าเกลียดที่เชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว”

การแสดงแฟชั่นโชว์ของ FLYNOW III ประกอบนิทรรศการ Beauty and Ugliness: Aesthetic of Marsi ความงามและความน่าเกลียด: สุนทรียศิลป์แห่งมารศี ในครั้งนี้มีชื่อว่า Live Exhibition: Marsi X FLYNOW III จัดขึ้นภายใต้แรงบันดาลใจที่ได้จากผลงานภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของท่านหญิงมารศีฯ โดยนำปรัชญาในการทำงานและแนวคิดที่มีร่วมกันใน 4 ประเด็นหลักมานำเสนอ ได้แก่ Deconstruction, Surrealism, Sadism และ Futurism เล่าเรื่องโดยสื่อถึงกระบวนการทำงานและบรรยากาศการสร้างสรรค์ งานของท่านหญิงมารศีฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ผ่านการตีความของ FLYNOW III ในยุคปัจจุบัน ที่ต่างมีความ หลงใหลในเรื่องราวต่างๆที่คล้ายคลึงกัน โดยหยิบยกการทำงานเบื้องหลังเวทีแฟชั่นมาสู่เบื้องหน้า เพื่อให้ ผู้ชมได้เห็นว่า กระบวนการทำงานศิลปะของท่านหญิงในยุคก่อน  เมื่อเดินทางมาสู่โลกของแฟชั่นในยุค ปัจจุบัน มีกระบวนการสร้างงานที่คู่ขนานกันอย่างไร ทั้งระหว่างยุคสมัยและสถานที่ที่ต่างกันและระหว่าง การ สร้างสรรค์งานของหม่อมเจ้ามารศี และ FLYNOW III โดยทั้งหมดนี้ถือเป็นการเชื่อมโยงกัน ของเวลาและมุมมองในเรื่องของ ความงาม ความน่าเกลียด ผ่านกระบวนการที่คู่ขนานของทั้งสองฝ่ายในการสร้างผลงานสู่ผู้ชมให้ได้ตระหนักและซาบซึ้งในความงามของชีวิต

“แฟชั่นโชว์ในครั้งนี้จะไม่ได้อยู่ในกระบวนท่าของการทำโชว์บนสเตจ หรือในสแตนดาร์ทที่เขาทำกัน แต่เราพยายามทำให้แตกต่าง และความแตกต่างนี้คือความละเอียด ซึ่งวิธีคิดของรายละเอียดในการทำโชว์นั้นก็ถือเป็นงานศิลปะชิ้นหนึ่งเช่นกัน นอกจากนี้ในการทำงานเรายังต้องหาความเชื่อมโยงกันของทั้งสองฝ่าย ในแง่ของเรื่องราว ยุคสมัย โดยมีผลงานของท่านหญิงมารศีฯ เป็นประธานในการคิด” คุณสมชัยกล่าว

สมชัย  ส่งวัฒนา

สำหรับเสื้อผ้าทั้ง 14 ชุดที่ออกแบบขึ้นนั้น เกิดจากการตั้งคำถามที่ว่า ในความจริง ความลวง ความรัก ความตาย ความสวยงาม หรือความน่าเกลียด อะไรคือกฎเกณฑ์ที่กำหนดสิ่งเหล่านี้ ก่อนจะนำมาถ่ายทอดผ่านลวดลายบนผืนผ้าที่ได้แรงบันดาลใจจากภาพเขียน ไม่ว่าจะเป็นภาพดอกไม้ สัตว์ และธรรมชาติของมนุษย์ จากภาพ อาทิ La mort aux dents, La Belle et la Bête, Le Mariage Mystique du Prince Noui Noui à Vellara, Le Bal  โดยรายได้จากการจำหน่ายเสื้อผ้าทั้ง 14 ชุด FLYNOW III จะมอบให้กับมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาด้านศิลปะ ตลอดจนให้การสนับสนุนนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะของนักศึกษาและศิลปินรุ่นใหม่ ในหอศิลป์ต่างๆ

การแสดงเปียโนโดย โจนัส วินเซ้น

นอกเหนือจากเสื้อผ้าที่จัดแสดงในงานแฟชั่นโชว์แล้ว FLYNOW III ยังจัดทำคอลเลคชั่นเสื้อผ้า Basic Line และแอคเซสซอรี่ ที่นำภาพของท่านหญิงมารศีฯ จำนวน 5 ภาพ อาทิ La mort aux dents, La Belle et la Bête, Le Mariage Mystique du Prince Noui Noui à Vellara, Le Bal  รวมถึงข้อความภาษาฝรั่งเศสที่เป็นพระปณิธานของท่านหญิง แปลเป็นไทยว่า “ศิลปะ สะท้อนชีวิตและความตาย ฉันจะใช้ความสามารถของฉัน ถ่ายทอดออกมา” มาจัดพิมพ์ลงบน เสื้อเชิ้ต เสื้อทีเชิ้ต เดรส ผ้าพันคอ ฯลฯ จำหน่ายภายในนิทรรศการ รวมถึงในช้อป FLYNOW III สาขา ดิ เอ็มโพเรียม, สยามเซ็นเตอร์, สยามพารากอน, เซ็นทรัลลาดพร้าว และเซ็นทรัลปิ่นเกล้า โดยรายได้จากการจำหน่ายสินค้าคอลเลคชั่นดังกล่าว 20 % จะมอบให้กับมูลนิธิฯ เช่นกัน

การจัดงานนิทรรศการแสดงภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของท่านหญิงมารศีฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้การดูแลของมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร หลังจากที่เคยจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2553 และ 2556 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ร่วมค้นหาความหมายแห่งสุนทรียศาสตร์จากผลงานจิตรกรรม ฝีพระหัตถ์อันทรงคุณค่ากว่า 40 ชิ้น รวมถึงของใช้ส่วนพระองค์กว่าร้อยชิ้นที่สร้างแรงบันดาลใจในงาน ศิลปะของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร จิตรกรหญิงชาวไทย ผู้สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของศิลปะแบบเซอร์เรียลลิสต์–แฟนตาสติก (Surrealism – Fantastic Art) นิทรรศการ “ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์แห่งมารศี” จัดแสดงระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน – 23 ธันวาคม 2561 ณ ห้องนิทรรศการ 5-8 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.30 น. (ยกเว้นวันจันทร์ – วันอังคาร)