เลื่อนได้ไหม “วันหนี้นิเวศโลก” ต้องมีโลกอีกเกือบใบถึงจะใช้กันพอ

50

หากเราเข้าใจเรื่องของเครดิตที่มีการยืมเงินในอนาคตมาใช้ก่อน โดยรับรองว่าจะมีกำลังผ่อนใช้จากหน้าที่การงานที่รองรับ นี่อาจจะเป็นคำอธิบายง่ายๆ เบื้องต้น เกี่ยวกับวันหนี้นิเวศโลก เพราะหาก 1 ปีมี 12 เดือน เมื่อถึงวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา คือจุดที่เราใช้ทรัพยากรสำหรับปีนั้นไปหมดแล้ว หลังจากวันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นมา เราจึงต้องกู้ใช้ทรัพยากร เท่ากับเราเป็นหนี้ ซึ่งไม่มีใครการันตีได้ว่า เราจะสามารถชดใช้คืนได้หรือไม่ และเมื่อไหร่

วันนี้จึงมีบทความที่น่าสนใจเรื่องวันหนี้นิเวศโลก  โดย เอสเธอร์ ฟินิโดริ ผู้จัดการฝ่ายประสิทธิภาพด้านสภาพแวดล้อม และกลยุทธ์ CO2 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค อีกหนึ่งวิสัยทัศน์ที่เรียกร้องให้ทุกคนหันมามองโลกในแง่แห่งความจริงและแนวทางที่ทุกคนร่วมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

แนวคิดที่ชัดเจน จะช่วยเลื่อนวันหนี้นิเวศโลกให้ไกลออกไปได้อย่างไร โดย เอสเธอร์ ฟินิโดริ  

ทำไมต้องเป็น 1 สิงหาคม?

วันหนี้นิเวศโลกในปีนี้ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม โดยวันหนี้นิเวศโลกเป็นวันที่กำหนดขึ้น เมื่อถึงจุดที่ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ในแต่ละปี มีมากเกินกว่าที่ระบบนิเวศของโลกจะผลิตขึ้นมาใหม่ได้ทันในปีนั้นๆ แล้ววันที่ว่าหมายถึงอะไรกันแน่

โดยในปีนี้เราจะใช้ “งบประมาณด้านทรัพยากร” หมดภายในวันที่ 1 สิงหาคม นั่นหมายความว่าหลังจากวันที่ 1 สิงหาคม เราจะต้องหยิบยืมทรัพยากรในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า โดยจากอัตราการใช้ทรัพยากรในปัจจุบัน เราจะต้องมีโลกถึง 1.7 ใบถึงจะมีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการใช้ในหนึ่งปี

เพื่อแปลงค่าการใช้งานทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ เป็นมาตรวัดในเชิงปริมาณ ทางเครือข่ายรอยเท้านิเวศโลก (Global Footprint Network) ได้ใส่ความต้องการใช้ทรัพยากรทั้งหมดของมนุษย์เข้ามาเพื่อประเมินทรัพยากรธรรมชาติที่โลกต้องฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ หรือทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น โดยสรุปทุกพื้นที่ที่ก่อให้เกิดผลผลิตทางชีวภาพ ในการหมุนเวียนกลับขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “รอยเท้านิเวศ (Ecological Footprint)” ของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพื้นที่สำหรับอาหาร ป่าไม้ การดูดซับของเสีย (โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหมเชื้อเพลิงฟอสซิล) รวมไปถึงพื้นที่ในการตัดถนน และสร้างเมืองเพื่ออำนวยความสะดวก ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ data.footprintnetwork.org.

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินจุดสมดุล จะถูกแปลงค่าออกมาเป็นวันที่กำหนดชัดเจน และเลื่อนเร็วขึ้นจากปลายเดือนกันยายนปี 1997 จนล่าสุดเป็นวันที่ 1 สิงหาคมในปีนี้ ซึ่งนับว่ามาถึงเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ซึ่งเป็นครั้งแรกในโลกที่วันที่เราเป็นหนี้นิเวศ เลื่อนเข้ามาเร็วขึ้นนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 1970 เรื่อยมา นั่นหมายความว่ามนุษยชาติมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเร็วขึ้นถึง 1.7 เท่า เกินกว่าที่ระบบนิเวศจะสามารถสร้างทดแทนขึ้นมาใหม่ได้ เทียบเท่ากับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลก 1.7 ใบ

สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้

ในขณะที่โลกของเรามีจุดสิ้นสุด แต่ความเป็นไปได้ของมนุษย์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นการจะปฏิรูปไปสู่ความยั่งยืน การทำให้โลกมีความเป็นกลางด้านคาร์บอนจะประสบความสำเร็จได้ หากเรานำจุดแข็งที่สุดของมนุษย์มาประยุกต์ นั่นคือ การคาดการณ์ล่วงหน้า และนวัตกรรม ข่าวดีคือการปฏิรูปดังกล่าว ไม่ใช่แค่ความเป็นไปได้เฉพาะด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะก้าวไปสู่อนาคตที่รุ่งเรือง หากเราเลื่อนวันหนี้นิเวศโลกให้มาถึงช้าลง 5 วันทุกๆ ปี ก็จะทำให้เรายังคงใช้ทรัพยากรของโลกใบเดียวได้เพียงพอ ก่อนปี 2050 แน่นอน ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องยากจนเกินไป

ทีมนักวิจัยของเครือข่ายรอยเท้านิเวศโลก (Global Footprint Network) ได้ร่วมมือกับวิศวกรจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในการประเมินสิ่งที่สามารถเป็นไปได้ในตอนนี้ ในการเลื่อนวันออกไปไกลขึ้น (#MoveTheDate) พร้อมกันนี้บรรดานักวิจัยได้พิจารณาเฉพาะทางเลือกที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กำลังดำเนินการอย่างจริงจัง คือการลดความต้องการด้านพลังงาน  ควบคู่ไปกับการผลิตพลังงานที่มีคาร์บอนต่ำ

บริษัทได้มีการคำนวนว่าหากโครงสร้างของอาคารทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้มีการติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมอัพเกรดโครงข่ายไฟฟ้าให้รองรับการใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีพร้อมอยู่แล้ว ก็จะช่วยให้โลกสามารถเลื่อนวันดังกล่าวออกไปได้อีก 21 วัน ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค  ได้ให้บริการใน 4 ตลาดหลัก ซึ่งคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ของการใช้พลังงานในโลกใบนี้ โดยแสดงให้เห็นถึงโอกาสสำคัญในการควบคุมการใช้พลังงาน พร้อมขับเคลื่อนไปสู่การใช้ทรัพยากรโลกได้อย่างสอดคล้องในเชิงเศรษฐกิจระดับโลก ชไนเดอร์เชื่อมั่นว่าหากดึงทั้งคู่ค้าและลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าว ก็จะช่วยสร้างความเป็นไปได้ในการปลดล็อคศักยภาพในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม ตลอดจนการนำโมเดลธุรกิจแบบหมุนเวียนมาใช้ พร้อมทั้งสามารถวัดได้ว่าการดำเนินการเรื่องดังกล่าวช่วยลดการใช้ทรัพยากรและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากแค่ไหน

ในด้านพลังงาน ทางทีมได้ประมาณการโอกาสในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของระบบไฟฟ้าในปัจจุบัน โดยอิงตามข้อจำกัดของกริด ณ ปัจจุบัน นอกจากนี้ ทีมยังได้ประเมินศักยภาพในเรื่องของประสิทธิภาพด้านพลังงานของสินทรัพย์ที่มีอยู่ (อาคาร บ้าน ดาต้าเซ็นเตอร์ อุตสาหกรรมต่างๆ) หากมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบันมาใช้ในพื้นที่เหล่านี้ ทั้งนี้ การปรับปรุงพลังงาน และการลดคาร์บอนไดออกไซด์ในการใช้พลังงานไฟฟ้า จะช่วยเลื่อนวันออกไปได้ 21 วัน เรื่องนี้เป็นการประเมินอย่างระมัดระวังตามข้อเสนอแนะที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้มีการทดสอบอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ เทคโนโลยีต่างๆ นอกเหนือจากที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มี (เช่น แสงสว่าง เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ และปั๊ม ฯลฯ) ก็ยังช่วยให้ภาคส่วนเหล่านี้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเลื่อนวันหนี้นิเวศออกไปได้ไกลขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรยังช่วยรักษาศักยภาพในเรื่องดังกล่าวได้มากเช่นกัน

ศิลปะที่ว่าคือการใช้แนวทางที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น ในแถบยุโรป โดยปกติอาคารต่างๆ จะมีการใช้พลังงานคิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งสร้างก๊าซเรือนกระจกในเปอร์เซ็นต์ที่เกือบเท่ากับการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม การปรับปรุงอาคารให้มีความทันสมัยในที่นี้จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ใช่แค่เพราะประหยัด หรือสามารถแทนระบบโครงสร้างที่มีอยู่ทั้งหมด ลองพิจารณาถึงตัวอย่างจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทั้งการติดตั้งระบบการจัดการพลังงานแบบแอกทีฟ ในประเภทของอาคารที่มีความแตกต่างกัน 5 ประเภท ส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานตั้งแต่ 22 เปอร์เซ็นต์ ในอพาร์ทเมนท์ส่วนตัว (พื้นที่ในกรุงปารีส) ที่สร้างในปี 2010 ไปจนถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ในโรงแรม 3 ดาว ในเมืองนีซที่สร้างในปี 1996 ตลอดจนการประหยัดได้ถึง 56 เปอร์เซ็นต์ ในโรงเรียนประถมที่มีร้านค้าเดียวในเมืองเกรอนอบล์ ประเทศฝรั่งเศส

การเลื่อนวัน สามารถเป็นโอกาสทางธุรกิจ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่ราย ที่มีกรณีทางธุรกิจสอดคล้องกับการช่วยมนุษย์ให้พ้นจากการเป็นหนี้ในระบบนิเวศ ด้วยประเด็นดังกล่าว จึงทำให้บริษัทเหล่านี้ มีความได้เปรียบในเชิงเศรษฐกิจที่พ่วงมาด้วย โดยเฉลี่ยแล้วบริษัทเหล่านี้ จะมีการดำเนินงานที่สอดคล้องต่อความจำเป็นที่เพิ่มขึ้นในการใช้ชีวิตในวิถีของโลกใบเดียวกัน สิ่งนี้เองที่เป็นการเปิดให้บริษัทเหล่านี้ ก้าวสู่การขยายตลาดได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้บริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จในระยะยาว เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่ได้มีแนวทางร่วมที่สอดคล้องกับความสำเร็จในการรักษาทรัพยากรบนโลกร่วมกัน และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับความต้องการที่ลดลง การเข้าถึงทรัพยากรที่ขาดแคลนได้ยากยิ่งขึ้น รวมถึงความลำบากในการรักษาสิทธิทางสังคมเพื่อการดำเนินงาน”

แต่น่าเสียดาย ธุรกิจที่ตระหนักถึงความเป็นจริงทางกายภาพ และความหมายของบริบทในการอยู่ร่วมกันบนโลก ยังหาได้ยาก ดังนั้น Global Footprint Network จึงรู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยส่งเสริมบริษัทเหล่านี้ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ถือเป็นกลไกที่มีความสำคัญมากที่สุดในการปฏิรูปซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการสร้างความยั่งยืน เห็นได้ชัดว่าในการที่มนุษยชาติจะพัฒนาได้อย่างสันตินั้น บริษัทจำนวนมากจะต้องมีรูปแบบธุรกิจที่ดำเนินการสอดคล้องตามความเป็นจริงในเรื่องข้อจำกัดของโลก และพวกเราที่เป็นคนส่วนใหญ่ควรใช้วิธีคิดแบบนี้เช่นกัน เพื่อโน้มน้าวให้เกิดแรงจูงใจในเรื่องของการซื้อ การรับประทานอาหาร และรูปแบบการเดินทางได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค เองได้แสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงกลยุทธ์และการมุ่งเน้นทางธุรกิจ เช่น วิธีการที่สื่อให้เห็นด้วยคุณลักษณะของความเป็นจริงทางกายภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราปรารถนาจะได้เห็นว่าเป็นเรื่องที่กลายเป็นบรรทัดฐาน ไม่ใช่ข้อยกเว้นเสมอไป

(บทความนี้ได้มีการเขียนร่วมกับดร.มาธิส เวกเคอร์นาเกล ผู้ร่วมบัญญัติ รอยเท้านิเวศโลก (Ecological Footprint) และดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ของเครือข่ายรอยเท้านิเวศโลก (Global Footprint Network) ซึ่งเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่มุ่งเน้นไปที่การเรียกร้องหลักเศรษฐศาสตร์ทางความยั่งยืนของมนุษย์ ที่ทั้งหมดสามารถเติบโตได้บนมาตรฐานของโลก 1 ใบ)