ชาร์จไปเล่นไปอันตรายถึงชีวิต ใช้เทคโนยีให้ปลอดภัยช่วงฝนมาฟ้าเปรี้ยง

64

ฝนฟ้าที่คึกคะนองมาพร้อมพายุในช่วงนี้ อาจส่งผลกระทบต่อคนเราในหลายๆ ด้าน อาทิ น้ำท่วมขัง ดินถล่ม หรือ โรคภัยที่มากับสภาพอากาศ นอกจากนั้นการสภาพความแปรปรวนบนท้องฟ้า ที่ทำให้เกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ก็ส่งผลกระทบต่อการทำงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมทั้งอาจจะกระทบต่อร่างกายและชีวิตของผู้ใช้งานได้

ในยุค 4.0  หลายครัวเรือนต่างสรรหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความไฮเทคราคาแพงมาไว้ในครอบครอง เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการใช้ชีวิตยุคดิจิทัล ตั้งแต่อุปกรณ์แบบเป็นชิ้นๆ ราคาหลักพัน ไปจนถึงโซลูชั่นเรือนแสน อย่างเช่น ลำโพงลอยได้ สมาร์ททีวี / อินเทอร์เน็ตทีวี ชุดโฮมเธียร์เตอร์ เครื่องเสียง ระบบม่านอัตโนมัติ กล้อง CCTV อุปกรณ์ชุดป้อนคำสั่งเสียง ชุดควบคุมโฮมออโตเมชั่น อุปกรณ์ประเภทนี้มักมีการเชื่อมต่อไฟฟ้าทิ้งไว้ และเชื่อมโยงกันและกันได้ ให้ความสะดวกในการสั่งงาน หากช่วงฝนฟ้าคะนอง หรือมีฟ้าผ่าในละแวกบ้าน เมื่อเกิดแรงดันไฟฟ้าถาโถมเข้าไปในบ้าน อุปกรณ์พวกนี้มีโอกาสเสียหายได้ และหากทั้งหมดเชื่อมต่อกันทั้งหมดแล้วอาจเสียหายยกเซตได้

แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันกับไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไปมาก สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ต่างเป็นอุปกรณ์คู่กายที่ใช้ในการเข้าสู่โลกโซเชียล เสพความบันเทิงอย่างชมภาพยนตร์ ซีรีย์ อ่านนิยาย หาข้อมูล เลือกชมสินค้าเพื่อเตรียมตัวช้อปออนไลน์ หลายสิ่งของความบันเทิงในยุคดิจิทัลนี้ ลงเอยด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว และที่สำคัญ ‘การเสียบปลั๊กชาร์จไปด้วยใช้งานสมาร์ทโฟนไปด้วย’ กลายเป็นไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงต่อชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ที่มีฟ้าผ่าเป็นระยะๆ เพราะเมื่อแรงดันไฟฟ้าจากฟ้าผ่า วิ่งเข้ามาตามสายไฟจากภายนอกสู่ภายในบ้าน ไม่ใช่เพียงแค่อุปกรณ์เสียหาย แต่ยังหมายถึงชีวิตของผู้ที่สัมผัสอุปกรณ์นั้นๆ อยู่ด้วย

คุณกุศล กุศลส่ง รองประธานฝ่ายธุรกิจค้าปลีก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย เผยว่า “ในยุค 4.0 แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ที่เข้ามาเพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตมากขึ้น แต่ในทางกลับกันหากใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังและไม่รัดกุมเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในบ้าน ระบบไฟฟ้าภายในบ้านกลับเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ผู้อยู่อาศัยต้องใส่ใจควบคู่กับการใช้ชีวิตในยุคใหม่ เพราะเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ ล้วนต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก และมีการเชื่อมต่อทิ้งไว้ตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูฝนด้วยแล้ว การติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟช็อต และเบรกเกอร์กันไฟดูด อาจไม่เพียงพอในการป้องกันแบบครบวงจร

ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันแรงดันจากฟ้าผ่า (Surge Protective Device หรือ SPD) นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับไลฟ์สไตล์ในยุคนี้มาก เพราะการเกิดฟ้าผ่า ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นที่ใด แต่หากเมื่อเกิดขึ้น ผลกระทบนั้นมีมากมาย แรงดันกระแสไฟจากฟ้าผ่าจะถาโถมวิ่งเข้าสู่สายไฟในบริเวณนั้น และเข้าสู่บ้านเรือนในระแวกนั้น และเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กเอาไว้ การป้องกันไว้ก่อนโดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันแรงดันจากฟ้าผ่านับเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ แต่ถ้าหากเป็นไปได้เมื่อเกิดฝนตกฟ้าคะนอง ไม่ควรสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าวอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต หากมีความจำเป็นมากควรถอดสายชาร์จก่อนแล้วจึงค่อยใช้งาน และไม่ควรใช้งานกลางแจ้ง หรือนอกชายคาที่ไม่มิดชิด กรณีฝนตก หรือสภาพอากาศแปรปรวน เพราะภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แต่เราสามารถป้องกันผลกระทบจากภัยธรรมชาติได้”

การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันแรงดันจากฟ้าผ่าสำหรับบ้าน สามารถติดตั้งเข้าไปได้เลยในตู้ไฟยุคใหม่ อย่างเช่น ตู้คอนซูมเมอร์ สแควร์ดี คลาสสิคพลัส ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Square D Classic Plus) ซึ่งการติดตั้งไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่นานเพราะในตู้ไฟได้มีการวางระบบเพื่อเตรียมการติดตั้งเอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ทั้งยังสามารถตรวจสอบประวัติการติดตั้ง ช่วงเวลาที่ควรต้องเปลี่ยนผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้ ด้วยระบบ QR Code และเพื่อให้การติดตั้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรให้ทางช่างไฟผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ติดตั้งให้จะดีที่สุด เพื่อทำให้บ้านกลายเป็นสถานที่ ที่ปลอดภัยที่สุดในทุกกรณีสอดรับกับไลฟ์สไตล์ยุค 4.0